วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

AEC กับภาคตะวันตกไทย


AEC  กับภาคตะวันตกไทย 
                คนภาคตะวันตกต้องเตรียมความพร้อมอะไรกันบ้าง ในการรองรับการเปิดประเทศทุกทิศทาง  กับอภิมหาโปรเจคระหว่างประเทศ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC : ASEAN  Economic   Community ) ในอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า คือ  ปี 2015  ” ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) มีอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน  กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย และเวียตนาม  แม้ว่าในอดีตภาคตะวันตกมักไม่ค่อยอยู่ในสายตาของรัฐบาลนัก  แต่จากนี้ต่อไป  คงจะต้องหันมาดูแลมากขึ้น  ธุรกิจสาขาต่าง ๆ กงจะมีคนลงมาส่งเสริมจัดการให้เข้ารูปเข้ารอยกว่าเดิม
                ภาคธุรกิจของไทยร้อยละ 80-90  เป็นธุรกิจประเภท SME จึงถือว่า SME เป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจไทย แต่แนวทางที่ทำ คือ  มุ่งแข่งขันภายในประเทศเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด  ยังไม่ได้มองเรื่องที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ซึ่งเดิมตั้งเป้าว่าจะเกิดขึ้นในปี 2020   และแล้วไทยกับประเทศสมาชิก  5 ประเทศ ก็ได้ประกาศจะรวมตัวกันปี 2015  เร็วกว่าเดิมขึ้นมา 5 ปี  ประเด็นสำคัญก็คือ  ลดอัตราภาษีลงเหลือศูนย์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทยหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาแรงงานมีฝีมือมีจำกัด  จะยิ่งไหลออกนอกประเทศ   ความพร้อมในการปรับตัวของสถานประกอบการที่จะแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง  และการพัฒนาด้านบุคลากรในธุรกิจทุกสาขาที่ยังไม่มีการเตรียมกันเท่าที่ควร
                ในส่วนที่เกี่ยวกับภาคตะวันตก  มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจคือ การเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน  เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน –ทวาย ในพื้นที่อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  เป็นถนน 4 เลน ระยะทางจากพุน้ำร้อนถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย  160 กิโลเมตร ขณะนี้บริษัทอิตาเลี่ยนไทยได้สัมปทานโครงการ วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทวายและระบบโครงสร้างพื้นฐาน  ถนนจากทวายถึงพุน้ำร้อนสร้างใกล้เสร็จ  ชาวกาญจนบุรีมีความตื่นตัวกันมาก  โดยเฉพาะหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด  ข่าวคราวก็มีเผยแพร่ออกไปยังจังหวัดข้างเคียงพอสมควร  เนื่องจากปัจจุบันการทำงานของภาครัฐมีระบบการทำงานแบบ “กลุ่มจังหวัด” มีการประชุมจัดทำแผนร่วมกัน  ข่าวสารก็กระจายผ่านสื่อมวลชนให้ได้รับรู้กันพอสมควร  แต่คงยังไม่เพียงพอ  เพราะไม่ได้มีการเจาะลึกว่าด้วยเรื่องของ AEC โดยตรง
เรื่องเร่งด่วนของผู้ประกอบการที่ควรทำ คือ
                  1. เร่งสร้างบุคลากร 
                 2. เน้นปรับตัวเองทางด้านภาษา
                 3. ติดตามข่าว  และเข้าใจถึงประโยชน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น  ไทยจะเสียโอกาสหรือมีอุปสรรคอย่างไร โอกาสมักจะมาพร้อมกับอุปสรรคเสมอ  จึงต้องปรับตัว เช่น  เรียนรู้การขายระบบออนไลน์ที่ต้องมีหลายภาษา ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 4 ปีเท่านั้น                            
                  ภาครัฐยังให้ข้อมูลข่าวสาร ทำความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนไม่ดีพอ  รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาให้ความรู้เรื่องนี้  ต้องเปลี่ยนประเทศในฐานะที่มีศักยภาพสูงกว่า  หรือควรร่วมมือกับประเทศคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงกว่าเรา เช่น สิงคโปร์  มาเลเซีย  มาร่วมเป็นพันธมิตร    SME ส่วนใหญ่ของไทยส่งออกไปตลาดในกลุ่มประเทศที่สู้เราไม่ได้  ขณะที่ SME เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของอาเซียน จึงต้องเร่งให้ความรู้ประชาชน
                นอกจาก SME ที่ภาครัฐต้องให้การดูแลแล้ว เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้  ส่วนใหญ่คือชนชั้นกลางที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว  อาชีพที่ทำส่วนใหญ่จึงมักจะเป็น มนุษย์เงินเดือน หรือ ลูกจ้างมืออาชีพ” ที่ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น  มาตรฐานความสามารถทางด้านวิชาชีพของตัวเราเป็นอย่างไร  ต้องพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอย่างไรบ้าง อย่างน้อยเพื่อให้เราถูกเลือกเข้าทำงาน เพราะคู่แข่งขันของเราจะเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว
ตัวอย่างความตื่นตัวของคู่แข่ง  ในการเตรียมความพร้อมสู่ AEC
            ที่นครโฮจิมินห์ของเวียดนาม เมื่อ 13 ก.ย.2554   เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า จัดการประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิด สี่ประเทศหนึ่งจุดหมาย มีรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและผู้แทนกว่า 200 คนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก 4 ประเทศเข้าร่วมการประชุม หวังดึงดูดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ลงทุนและประชาชนใน 4 ประเทศ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายการท่องเที่ยวและหารือมาตรการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน  โดยเน้นภาพลักษณ์ของทั้งสี่ประเทศว่าเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน
           ธุรกิจการท่องเที่ยวของเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เฉลี่ยสูงกว่าอัตราขยายตัวรวมของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และของโลก โดยเมื่อปีที่แล้วทั้งสี่ประเทศมีนักท่องเที่ยวไปเยือน 10.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากปี 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น