วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
คนเก่งที่น่ากลัว
สังคมและการเมืองมักถูกนำไปสู่ปัญหาโดยคนเก่ง เพราะคนเก่งมักต้องการชัยชนะเหนือคนอื่น ยอมไม่ได้ถ้าจะต้องเป็นฝ่ายแพ้ จะพยายามขุดค้นหาวิธีการ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็ต้องใช้คาถา ลองคิดย้อนหลังไปในอดีต ผู้นำหรือนักการเมืองไล่มาต้ังแต่ระดับโลก ถึงระดับประเทศไทย ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้แต่หมู่บ้าน สรุปว่า "คนเก่งบางคนอันตราย" ผมเห็นด้วยมาก ๆ กับนักการเมืองและผู้ใหญ่หลายคนในเมืองไทยที่ พยายามหาวิธีที่จะทำให้คนเก่งไม่อันตราย โดยหากลไกและวิธีการ "ถ่วงดุลย์อำนาจ" คือไม่เปิดช่องว่างหรือปล่อยให้เขาคิดเองสั่งเองตามอำเภอใจไปซะทุกเรื่อง ถึงกระนั้นคนเก่งบางคนก็ยังอุดส่าห์หาทางอุดช่องโหว่ ไม่ให้ใครมาสกัดกั้นสิ่งที่เขาคิดและอยากจะทำ เรียกว่า "แยบยล" แบบที่คนโบราณว่าเหมือน "น้ำกลิ้งบนใบบอน" หรือ "มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก" แต่ก็มีไม่น้อยซึ่งในที่สุดแล้วก็ต้องแพ้ภัยตัวเอง ต้วอย่างผู้นำหรือนักการเมืองในประเทศเราก็อย่างที่รู้ ๆ กัน ถ้ารู้จักคำว่าพอ รู้จักแพ้วันนี้ซะบ้างเพื่อชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ในวันหน้า คนทั้งโลกก็จะสรรเสริญ
วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554
"ชุมชนเข้มแข็ง" อะไรคือสาเหตุให้บางแห่งล้มเหลว
ปัจจุบันชุมชนส่วนหนึ่งเริ่มเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้อย่างดี ทั้งด้านโครงสร้าง การจัดการ วิถีชีวิต อาชีพและรายได้ สามารถสร้างความผาสุกดีกว่าเดิม แต่ชุมชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมองไม่เห็นลู่ทาง ว่าจะเข้มแข็งได้ด้วยวิธีใด
ถ้าถามว่าอะไรคือสาเหตุ ทำให้ชุมชนสร้างความเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองไม่ได้ คงต้องตอบกันยืดยาว เป็นปัญหาแบบงูกินหาง หรือปัญหาโลกแตก ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน แต่ถ้าแบ่งสาเหตุออกเป็นด้าน ๆ พอให้มองเห็นปัญหาและข้อจำกัด เพื่อหาจุดเริ่มต้นได้ง่ายขึ้น น่าจะแยกให้พอเห็นภาพได้
1. ผู้นำชุมชน
- ขาดความรู้ เรื่องที่ควรรู้ เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ส่วนมากมักจะรู้แต่เรื่องที่
ตัวเองสนใจ หรือเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
- ขาดความเข้าใจ หลักการพื้นฐานในการพัฒนา แนวทางและวิธีการพัฒนาที่ถูกต้องและ
เหมาะสม เช่น การเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไข และร่วมรับประโยชน์อย่างเป็นธรรม ส่วนใหญ่ผู้นำมักตัดสินใจบางเรื่องโดยลำพัง จึงเกิดการแสวงหาประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้อง
- ขาดการเอาใจใส่ ในการแสวงหาแนวทาง และวิธีการพัฒนาชุมชนของตัวเอง เช่น
การสร้างความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน การร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง ความต่อเนื่องในการดำเนินงานบางเรื่องที่ต้องใช้เวลาและค่อยเป็นค่อยไป
2. สมาชิกในชุมชน ขาดความเชื่อมั่น ไม่มีจิตสาธารณะ มักไม่มีการอุทิศเวลาและ
แรงกายแรงใจ แม้แต่ในโอกาสสำคัญ จึงไม่เกิดบรรยากาศที่ดีในการพัฒนา สมาชิกมักมีการกระทบ
กระทั่ง ทั้งทางด้านคำพูด ความคิด และการกระทำ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยขาดความอดทน อดกลั้น การรับฟังผู้อื่น และการให้อภัยในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาลุกลามมากขึ้น หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชุมชน รวมทั้งผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส และผู้นำไม่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
3. ปัจจัยพื้นฐานและขีดความสามารถของชุมชน ก่อนที่จะสร้างความ
เข้มแข็งในส่วนอื่น ๆ ชุมชนจำเป็นต้องได้รับการจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพของสมาชิกในชุมชนให้ดีในระดับหนึ่งก่อน หลังจากนั้นต้องมีการประชุมสำรวจจุดแข็งจุดอ่อนของ ว่าในชุมชนมีอะไรที่เป็นสิ่งดีแต่ถูกเก็บซ่อนอยู่ อะไรที่เป็นข้อด้อย และถามความคิดเห็นสมาชิกว่าจะเลือกเดินในทิศทางใด อาจมีหลายกลุ่มอาชีพ ต้องคำนึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาที่เป็นตัวตนของชุมชนไว้บ้างจะทำให้โอกาสในการพัฒนาเป็นไปได้มากขึ้น
4. ความจริงจังและต่อเนื่องของหน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด มักทำงานแบบไม่ต่อเนื่อง และทำงานโดยไม่ให้โอกาสชุมชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ขาดการบูรณาการ มีไม่น้อยที่ชุมชนเบื่อหน่ายไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาถูกชวนให้ทำแล้วทิ้ง หากพื้นที่ใดได้หน่วยงานรัฐที่เอาใจใส่ จริงจัง ต่อเนื่อง หมั่นมาเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำปรึกษา ช่วยประเมินผลและแก้ปัญหาให้ ช่วยวางแนวทางให้ ชุมชนนั้นก็นับว่าโชคดีไป
วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554
AEC กับภาคตะวันตกไทย
AEC กับภาคตะวันตกไทย
คนภาคตะวันตกต้องเตรียมความพร้อมอะไรกันบ้าง ในการรองรับการเปิดประเทศทุกทิศทาง กับอภิมหาโปรเจคระหว่างประเทศ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC : ASEAN Economic Community ) ในอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า คือ ปี 2015 ” ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) มีอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียตนาม แม้ว่าในอดีตภาคตะวันตกมักไม่ค่อยอยู่ในสายตาของรัฐบาลนัก แต่จากนี้ต่อไป คงจะต้องหันมาดูแลมากขึ้น ธุรกิจสาขาต่าง ๆ กงจะมีคนลงมาส่งเสริมจัดการให้เข้ารูปเข้ารอยกว่าเดิม
ภาคธุรกิจของไทยร้อยละ 80-90 เป็นธุรกิจประเภท SME จึงถือว่า SME เป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจไทย แต่แนวทางที่ทำ คือ มุ่งแข่งขันภายในประเทศเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ยังไม่ได้มองเรื่องที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเดิมตั้งเป้าว่าจะเกิดขึ้นในปี 2020 และแล้วไทยกับประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ก็ได้ประกาศจะรวมตัวกันปี 2015 เร็วกว่าเดิมขึ้นมา 5 ปี ประเด็นสำคัญก็คือ ลดอัตราภาษีลงเหลือศูนย์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทยหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาแรงงานมีฝีมือมีจำกัด จะยิ่งไหลออกนอกประเทศ ความพร้อมในการปรับตัวของสถานประกอบการที่จะแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และการพัฒนาด้านบุคลากรในธุรกิจทุกสาขาที่ยังไม่มีการเตรียมกันเท่าที่ควร
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาคตะวันตก มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจคือ การเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน –ทวาย ในพื้นที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นถนน 4 เลน ระยะทางจากพุน้ำร้อนถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย 160 กิโลเมตร ขณะนี้บริษัทอิตาเลี่ยนไทยได้สัมปทานโครงการ วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทวายและระบบโครงสร้างพื้นฐาน ถนนจากทวายถึงพุน้ำร้อนสร้างใกล้เสร็จ ชาวกาญจนบุรีมีความตื่นตัวกันมาก โดยเฉพาะหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ข่าวคราวก็มีเผยแพร่ออกไปยังจังหวัดข้างเคียงพอสมควร เนื่องจากปัจจุบันการทำงานของภาครัฐมีระบบการทำงานแบบ “กลุ่มจังหวัด” มีการประชุมจัดทำแผนร่วมกัน ข่าวสารก็กระจายผ่านสื่อมวลชนให้ได้รับรู้กันพอสมควร แต่คงยังไม่เพียงพอ เพราะไม่ได้มีการเจาะลึกว่าด้วยเรื่องของ AEC โดยตรง
เรื่องเร่งด่วนของผู้ประกอบการที่ควรทำ คือ
1. เร่งสร้างบุคลากร
2. เน้นปรับตัวเองทางด้านภาษา
3. ติดตามข่าว และเข้าใจถึงประโยชน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไทยจะเสียโอกาสหรือมีอุปสรรคอย่างไร โอกาสมักจะมาพร้อมกับอุปสรรคเสมอ จึงต้องปรับตัว เช่น เรียนรู้การขายระบบออนไลน์ที่ต้องมีหลายภาษา ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 4 ปีเท่านั้น
ภาครัฐยังให้ข้อมูลข่าวสาร ทำความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนไม่ดีพอ รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาให้ความรู้เรื่องนี้ ต้องเปลี่ยนประเทศในฐานะที่มีศักยภาพสูงกว่า หรือควรร่วมมือกับประเทศคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มาร่วมเป็นพันธมิตร SME ส่วนใหญ่ของไทยส่งออกไปตลาดในกลุ่มประเทศที่สู้เราไม่ได้ ขณะที่ SME เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของอาเซียน จึงต้องเร่งให้ความรู้ประชาชน
นอกจาก SME ที่ภาครัฐต้องให้การดูแลแล้ว เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่คือชนชั้นกลางที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อาชีพที่ทำส่วนใหญ่จึงมักจะเป็น “มนุษย์เงินเดือน” หรือ “ลูกจ้างมืออาชีพ” ที่ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น มาตรฐานความสามารถทางด้านวิชาชีพของตัวเราเป็นอย่างไร ต้องพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอย่างไรบ้าง อย่างน้อยเพื่อให้เราถูกเลือกเข้าทำงาน เพราะคู่แข่งขันของเราจะเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว
ตัวอย่างความตื่นตัวของคู่แข่ง ในการเตรียมความพร้อมสู่ AEC
ที่นครโฮจิมินห์ของเวียดนาม เมื่อ 13 ก.ย.2554 เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า จัดการประชุมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิด “สี่ประเทศหนึ่งจุดหมาย” มีรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและผู้แทนกว่า 200 คนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก 4 ประเทศเข้าร่วมการประชุม หวังดึงดูดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ลงทุนและประชาชนใน 4 ประเทศ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายการท่องเที่ยวและหารือมาตรการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน โดยเน้นภาพลักษณ์ของทั้งสี่ประเทศว่าเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน
ธุรกิจการท่องเที่ยวของเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เฉลี่ยสูงกว่าอัตราขยายตัวรวมของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และของโลก โดยเมื่อปีที่แล้วทั้งสี่ประเทศมีนักท่องเที่ยวไปเยือน 10.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากปี 2552
ธุรกิจการท่องเที่ยวของเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เฉลี่ยสูงกว่าอัตราขยายตัวรวมของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และของโลก โดยเมื่อปีที่แล้วทั้งสี่ประเทศมีนักท่องเที่ยวไปเยือน 10.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากปี 2552
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ความหมาย คำว่า "สันขวาน"
"สันขวาน" ความหมายตามพจนานุกรมไม่ได้บัญญัติไว้ แต่เป็นคำประสมระหว่าง คำว่า "สัน" + "ขวาน" ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
สัน ความหมาย .น. แนวที่สูงขึ้น; ดั้ง; ส่วนหลังของมีดหรือขวาน. ลักษณนาม สัน (สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงเป็นแนวยาว)
ขวาน ความหมาย น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่ ลักษณนาม เล่ม เมื่อเรียกว่า "สันขวาน" มีความหมายว่า ส่วนหลังของขวานที่มีความหนาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทุบ ใช้ตี แทนฆ้อน เป็นต้น
ผู้เขียนมีความประสงค์ใข้คำนี้ในมิติเชิงภูมิศาสตร์ "สันขวาน" หมายถึง ดินแดนส่วนข้างซ้ายของประเทศไทย (ลักษณะขวานโบราณ)ที่เรียกว่า ตะวันตก โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนเป็นแนวเขตกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า มีความยาวตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ (แม่ฮ่องสอน - ประจวบคีรีขันธ์)
มิติเชิงสังคม "สันขวาน" หมายถึง การที่มีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเป็นพรมแดน โดยมีคนที่มีพลังขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่มีเทือกเขาตะนาวศรีที่เปรียบเสมือนเป็นสันขวาน ก็ไม่มีประเทศไทย ฉนัน "สันขวาน" จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีประเทศไทยมาถึงทุกวันนี้
สัน ความหมาย .น. แนวที่สูงขึ้น; ดั้ง; ส่วนหลังของมีดหรือขวาน. ลักษณนาม สัน (สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงเป็นแนวยาว)
ขวาน ความหมาย น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่ ลักษณนาม เล่ม เมื่อเรียกว่า "สันขวาน" มีความหมายว่า ส่วนหลังของขวานที่มีความหนาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทุบ ใช้ตี แทนฆ้อน เป็นต้น
ผู้เขียนมีความประสงค์ใข้คำนี้ในมิติเชิงภูมิศาสตร์ "สันขวาน" หมายถึง ดินแดนส่วนข้างซ้ายของประเทศไทย (ลักษณะขวานโบราณ)ที่เรียกว่า ตะวันตก โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนเป็นแนวเขตกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า มีความยาวตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ (แม่ฮ่องสอน - ประจวบคีรีขันธ์)
มิติเชิงสังคม "สันขวาน" หมายถึง การที่มีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเป็นพรมแดน โดยมีคนที่มีพลังขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่มีเทือกเขาตะนาวศรีที่เปรียบเสมือนเป็นสันขวาน ก็ไม่มีประเทศไทย ฉนัน "สันขวาน" จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีประเทศไทยมาถึงทุกวันนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)